วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Loopback Adapter windows 7

1. ไปที่ช่อง Search จากนั้นพิมพ์คำว่า hdwwiz.exe
2. คลิกที่Program

3. ก็จะเข้าสู่หน้า add hardware จากนั้นให้เรากด Next


4. ในหัวข้อนี้ให้เราเลือก Install the hardware that I manually select from a list (Advanced)


5. เลือก Network adapters


6. ช่องด้านซ้ายให้เลือก Microsoft Network Adapters  ให้เลือก Microsoft Loopback Adapter


7. จากนั้นให้เรากด Next


8. รอ Load ไดร์เวอร์


9. เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง Loopback adapter windows 7


10. เมื่อเรามาดูที่ Device Manager เราก็จะพบกับ Microsoft loopback adapter แล้วครับ



วิธีเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้าโน้ตบุ๊กด้วยสมาร์ทโฟนแท็บเล็ต Android

วิธีเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้าโน้ตบุ๊กด้วยสมาร์ทโฟนแท็บเล็ต Android

          คนรุ่นใหม่แทบทุกคนจะมีสมาร์ทโฟนติดตัวไว้คนละเครื่องเพื่อใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะแชตหรือเล่น Facebook ก็ตาม นอกจากนี้ข้อดีอีกอย่างของสมาร์ทโฟนคือสามารถใช้เป็น Personal Hotspot หรือตัวปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลได้ เพียงแค่สมาร์ทโฟนของทุกคนสามารถใช้งาน 3G ได้ก็สามารถทำได้เช่นกัน


จะต่อแบบใช้สาย USB หรือปล่อยเป็นแบบ Wi-Fi Hotspot ก็ได้นะ!

          สำหรับสมาร์ทโฟนที่ทีมงานใช้เป็นเครื่องทดสอบใช้งานจะเป็นสมาร์ทโฟน Sony Ericsson Xperia Play ที่ใช้เฟิร์มแวร์ Android 2.3.4 "Gingerbread" ขั้นตอนการตั้งค่านั้นง่ายๆ แค่ไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งจะต้องทำอย่างไรบ้างเรามาชมกันเลย


         1. เริ่มต้นให้เราเปิดหน้า Setting ขึ้นมาก่อนแล้วกดเข้าที่คำสั่ง Wireless & Networks เมื่อเปิดเข้ามาแล้วเราจะเห็นคำสั่งเรียงกันหลายรายการด้วยกัน ให้เรากดที่ Tethering & Portable Hotspot


          2. พอเข้ามาถึงหน้านี้แล้วจะเห็นว่าามีคำสั่ง USB tethering กับ Portable Wi-Fi hotspot ด้วยกัน ซึ่งถ้าเราไม่ตั้งค่าเอาไว้ก่อนจะไม่สามารถกดคำสั่ง Portable Wi-Fi Hotspot ได้ ให้เราเริ่มตั้งค่าที่ Port. Wi-Fi hotspot settings ก่อน


          3. เมื่อเราแตะที่ Port. Wi-Fi hotspot settings แล้วตัวเครื่องจะเปิดหน้าต่างคำสั่งแบบในภาพด้านบนขึ้นมา ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีส่วนแตกต่างกันดังนี้คือ Network SSID จะเป็นชื่อเครือข่าย Wi-Fi ที่สมาร์ทโฟนของเราปล่อยสัญญาณออกมา สำหรับ Security คือการตั้งค่ารักษาความปลอดภัยของตัวเครื่อง กล่าวคือการตั้งรหัสผ่านนั่นเอง โดยเราสามารถกรอกรหัสผ่านได้ที่ช่อง Password ที่อยู่ด้านล่าง และสามารถเลือกติ๊กถูกเพื่อโชว์รหัสผ่านได้เพื่อให้เราเช็คก่อนว่าเราตั้งรหัสผ่านไม่ผิด และอีกระบบคือ Open ที่เปิดระบบ Wi-Fi ให้คนอื่นเชื่อมต่อสัญญาณได้


          4. เมื่อเราตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว เราจะสามารถใช้สมาร์ทโฟนของเราเป็นตัวกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้แล้ว พอเราต้องการใช้งานก็สามารถแตะที่แถบ Portable Wi-Fi hotspot เพื่อเปิดใช้งานได้ทันทีและจะมีกรอบสัญญาณ Wi-Fi สีฟ้าติดขึ้นมาที่แถบด้านบนเป็นสัญลักษณ์ ส่วนของ USB tethering นั้นจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนของเราเข้ากับโน้ตบุ๊กผ่านสาย USB ก่อน คำสั่งนี้จึงจะใช้ได้ โดยสมาร์ทโฟนจะทำงานเป็นเหมือนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้กับโน้ตบุ๊กของเรา


          5. พอเราเปิดคำสั่ง Portable Wi-Fi hotspot แล้วเราก็สามารถเชื่อมต่อใช้งานได้เลยเช่นเดียวกับสัญญาณจากเราเตอร์ที่ติดตั้งเอาไว้ในตัวบ้าน ส่วนความเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเครือข่ายผู้ให้บริการและแพ็คเกจ 3G ที่เราทำสัญญาเอาไว้ด้วยกัน ส่วนถ้าใครหวังจะใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวขยายคลื่นสัญญาณ Wi-Fi ของตัวบ้านให้โน้ตบุ๊กของเรารับสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ดีขึ้น (กรณีเอาไว้ที่อีกส่วนหนึ่งของตัวบ้าน) ก็ขอแสดงความเสียใจด้วย ซึ่งทางทีมงานได้ทดสอบนำสมาร์ทโฟนเชื่อมต่อ Wi-Fi จากเราเตอร์แล้วเปิดระบบ Portable Wi-Fi hotspot แล้ว สัญญาณ Wi-Fi จะถูกตัดและเปลี่ยนเป็นสัญญาณ 3G ในทันที

สนับสนุนเนื้อหา: notebookspec


Config Router เบื่องต้น


Config IP Port

การ Config  ที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>ena <------------------------------------------------เปิดการทำงาน
Password:
Router>conf t <---------------------------------------------เข้าโหมด config terminal
Router(config)#hostname site-A  <----------------------เข้าโหมด ตั้งชื่อเครื่อง
site-A(config)# interface fastEthernet0/0  <------------เข้าโหมด config port 0/0
site-A(config-if)#ip address 192.168.0.1 255.255.255.252 <----ตั้ง IP and Submask
site-A(config-if)#no shut <--------------------------------เซฟ IP Port and Submask
site-A(config-if)#exit  <------------------------------------ออกจากโหมด terminal
site-A(config)# interface fastEthernet0/1  <--------------เข้าโหมด config port 0/1
site-A(config-if)#ip address 192.168.11.1 255.255.255.0  <----ตั้ง IP and Submask
site-A(config-if)#no shut  <-------------------------------เซฟ IP Port and Submask
site-A(config-if)#exit <-------------------------------------ออกจากโหมด config

ที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังนี้ :
Router>ena  <-----------------------------------------------เปิดการทำงาน
Password:
Router>conf t  <-------------------------------------------- เข้าโหมด config terminal
Router(config)#hostname site-B  <-----------------------เข้าโหมด ตั้งชื่อเครื่อง
site-B(config)# interface fastEthernet0/0  <------------ เข้าโหมด config port 0/0
site-B(config-if)#ip address 192.168.0.2 255.255.255.252  <----ตั้ง IP and Submask
site-B(config-if)#no shut  <-------------------------------เซฟ IP Port and Submask
site-B(config-if)#exit  <-----------------------------------ออกจากโหมด terminal
site-B(config)# interface fastEthernet0/1  <------------เข้าโหมด config port 0/1
site-B(config-if)#ip address 192.168.12.1 255.255.255.0  <----ตั้ง IP and Submask
site-B(config-if)#no shut  <-------------------------------เซฟ IP Port and Submask
site-B(config-if)#exit  <-----------------------------------ออกจากโหมด terminal

      Config Static Routing

การ Config  ที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t  <------------------------------------------เข้าโหมด config terminal
site-A(config)#ip route 192.168.12.0 255.255.255.0 192.168.0.2  <----ตั้ง IP วงที่จะไป Submask และ IP ขาตัวเอง
site-A(config)#exit  <-----------------------------------ออกจากโหมด config
site-A#wr mem  <---------------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

การ Config  ที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t  <-----------------------------------------เข้าโหมด config terminal
site-B(config)#ip route 192.168.11.0 255.255.255.0 192.168.0.1  <----ตั้ง IP วงที่จะไป Submask และ IP ขาตัวเอง
site-B(config)#exit  <-----------------------------------ออกจากโหมด config
site-B#wr mem  <---------------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

       Config RIP

การ Config ที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t  <-----------------------------------------เข้าโหมด config terminal      
site-A(config)#router rip  <----------------------------เลือกโหมด config rip  
site-A(config-router)#version 2 <---------------------เลือก versio ล่าสุด 
site-A(config-router)#no auto-sum <-----------------เปิดหมดเช็คค่าความผิดพลาด      
site-A(config-router)#network 192.168.0.0 <--------วง IP ตัวเอง
site-A(config-router)#network 192.168.11.0  <------วง IP วงที่จะไป
site-A(config-router)#exit  <---------------------------ออกจากโหมด router
site-A(config)#exit  <-----------------------------------ออกจากโหมด config
site-A#wr mem  <---------------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

การ Config ที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t  <--------------------------------------เข้าโหมด config terminal         
site-B(config)#router rip  <--------------------------เลือกโหมด config rip  
site-B(config-router)#version 2 <-------------------เลือก versio ล่าสุด                  
site-B(config-router)#no auto-sum <---------------เปิดหมดเช็คค่าความผิดพลาด      
site-B(config-router)#network 192.168.0.0 <------วง IP ตัวเอง
site-B(config-router)#network 192.168.12.0  <----วง IP วงที่จะไป
site-B(config-router)#exit  <-------------------------ออกจากโหมด router
site-B(config)#exit  <---------------------------------ออกจากโหมด config
site-B#wr mem  <-------------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

       Config OFPF

การ Config ที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t  <-------------------------------------เข้าโหมด config terminal     
site-A(config)#router ospf 100  <-----------------เลือกโหมด ospf 100 
site-A(config-router)#network 192.168.0.0 0.0.0.255 area 0  <--วง IP ตัวเอง และ  boardcard
site-A(config-router)#network 192.168.11.0 0.0.0.255 area 0 <--วง IP ที่จะไป และ  boardcard
site-A(config-router)#exit  <-----------------------ออกจากโหมด router
site-A(config)#exit  <-------------------------------ออกจากโหมด config
site-A#wr mem  <-----------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

การ Config ที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t <-------------------------------------เข้าโหมด config terminal          
site-B(config)#router ospf 100  <-----------------เลือกโหมด ospf 100 
site-B(config-router)#network 192.168.0.0 0.0.0.255 area 0  <--วง IP ตัวเอง และ  boardcard
site-B(config-router)#network 192.168.12.0 0.0.0.255 area 0 <--วง IP ที่จะไป และ  boardcard
site-B(config-router)#exit  <-----------------------ออกจากโหมด router
site-B(config)#exit  <-------------------------------ออกจากโหมด config
site-B#wr mem  <-----------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

       Config  EIGRP

การ Config ที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t  <---------------------------------เข้าโหมด config terminal               
site-A(config)#router eigrp 1  <---------------เลือกโหมด eigrp 1   (1เป็นค่าdefault) 
site-A(config-router)#no auto-sum  <--------เปิดหมดเช็คค่าความผิดพลาด              
site-A(config-router)#network 192.168.0.0 0.0.0.255 <--วง IP ตัวเอง และ  boardcard
site-A(config-router)#network 192.168.11.0 0.0.0.255   <--วง IP ที่จะไป และ  boardcard
site-A(config-router)#exit  <-------------------ออกจากโหมด router
site-A(config)#exit  <---------------------------ออกจากโหมด config
site-A#wr mem  <-------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

การ Config ที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :
Router>conf t  <---------------------------------เข้าโหมด config terminal               
site-B(config)#router eigrp 1  <---------------เลือกโหมด eigrp 1   (1เป็นค่าdefault) 
site-B(config-router)#no auto-sum  <--------เปิดหมดเช็คค่าความผิดพลาด              
site-B(config-router)#network 192.168.0.0 0.0.0.255 <--วง IP ตัวเอง และ  boardcard
site-B(config-router)#network 192.168.11.0 0.0.0.255   <--วง IP ที่จะไป และ  boardcard
site-B(config-router)#exit  <-------------------ออกจากโหมด router
site-B(config)#exit  <---------------------------ออกจากโหมด config
site-B#wr mem  <-------------------------------ออกจากโหมด บันทึกข้อมูลทั้งหมด

คำนวน UPS

คำนวน Backup Time ของ UPS
จริง ๆ แล้ว ถ้าจะบอก Backup Time ได้ ต้องดู Spec ของ Battery กับ Efficiency ของ UPS
ค่าที่ใช้หลัก ๆ มี 4 ตัว

          1. Battery Capacity มีหน่วยเป็น Ah (Ampere-Hour) คือแปลว่า มันสามารถจ่ายไฟคงที่ที่ x Amps เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
          2. Battery Voltage เช่น 12V
          3. Efficiency คือค่าประสิทธิภาพของ UPS น่าจะมีค่าเป็น %
          4. อัตรากินพลังงานของ Load เป็น Watts, VA หรือเป็น Amp

หมายเหตุ:
             ไฟ AC, Watts ~= VA
             ไฟ DC, Watts = VA

ตัวอย่าง: จากสิ่งที่มีให้
     ถ้าอุปกรณ์กินไฟ 200Watt คงที่
     UPS มี Battery ขนาด 10Ah 1 ตัว
     Efficiecy 90%

efficiency 90% แสดงว่า มันแปลงไฟจาก battery 100 Watts มันจะจ่ายได้ 90 Watts

ดังนั้น Watt ที่ใช้จาก Battery = (200/90)*100) =~ 222.22 Watts

จาไฟ DC
            Watts = VA
                  A = Watts/V = 222.22 / 12 = ~ 18.52A
                **แสดงว่ามันกินไฟจาก Battery เท่ากับ 18.52A

คิดง่าย ๆ เอา Ah_bat / A_use จะเท่ากับ 10 Ah/18.52 A = ~ 0.54h คือ 0.54 ชั่วโมง ก็คือประมาณ ครึ่งชั่วโมง

          ดังนั้นถ้าซือ UPS ใหญ่ ๆ จะซื้อแยกกันระหว่าง ตัว UPS กับ Battery ซึ่งต้องซื้อ UPS ที่มี VA พอจ่ายกับ Load และมี Battery ที่มี Backup Time ตามต้องการ ... (และมันต้องชาร์ตได้ด้วยนะ)

Asynchronous Transfer Mode

Asynchronous Transfer Mode หรือ ชื่อย่อ ATM เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับGbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service (QoS)

         จุดเด่นของเครือข่าย ATM ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล (Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ Sever

         ATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ

         เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียข้อมูล ATM สวิตซ์จะใช้เทคนิคการปรับจราจร (Traffic Shapping) เพื่อกำหนดให้แพ็กเก็ตข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ เช่น ในกรณีที่สถานีส่งข้อมูลในอัตราที่สูงเกินกว่าลิงก์จะรองรับได้ ATM สวิตซ์ก็จะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์แพ็กเก็ตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่งต่อในปริมาณที่ลิงก์จะรองรับได้ หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น และอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้คือ การกำหนดนโยบายจราจร (Traffic Policing) คือ ถ้ามีเซลล์ข้อมูลที่ส่งเกินกว่าอัตราข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะถูกทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อแสดงว่าเซลล์นี้มีลำดับความสำคัญต่ำ(Priority) เมื่อส่งผ่านเซลล์นี้ต่อไปก็อาจจะถูกละทิ้งหรือไม่ก็ได้นั้นขึ้นอยู่กับความคับคั่งของเครือข่าย

การเชื่อมต่อเสมือน
การเชื่อมต่อเสมือน(Virtual Connection)ที่สามารถสร้างในเครือข่าย ATM มี 2 ประเภท คือ 

          วงจรเสมือน(Virtual Circuit) คือ การเชื่อมต่อเสมือน (Logical Connection) ระหว่างสองสถานีใดๆ ในเครือข่ายสวิตซ์ สถานีจะสื่อสารกันโดยการส่งผ่านเซลลข้อมูล โดยผ่านวงจรเสมือนนี้ 
  เส้นทางเสมือน (Virtual Path) เป็นกลุ่มของวงจรเสมือน การจัดวงจรเสมือนให้เป็นกลุ่มนั้นจะมีผลดีต่อการจัดการวงจรเสมือนที่อาจมีหลายวงจรในเวลาเดียวกัน หรือจะเป็นการง่ายกว่าที่จัดการวงจรเสมือนเป็นกลุ่มแทนที่จะแยกกัน
ในแต่ละเซลล์ของATM จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเสมือน หรือVPI(Virtual Path Information) และข้อมูลเกี่ยวกับวงจรเสมือน หรือVCI(Virtual Circuit Information) สวิตซ์จะใช้ข้อมูลนี้ในการส่งต่อเซลล์ไปยังอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อไป การที่สวิตซ์จะทำงานอย่างนี้ได้ในสวิตซ์จะต้องมีตารางการจัดเส้นทาง(Switch Table) ข้อมูลที่อยู่ในตารางจะเป็นการจับคู่กันระหว่าง VPI,VCI และอินเตอร์เฟสของสวิตซ์นั้นๆ

โครงสร้างโพรโทคอลของ ATM
โครงสร้างโพรโทคอลของ ATM จะแตกต่างจากโครงสร้างโพรโทคอลประเภทอื่น คือ โดยทั่วไปโพรโทคอลจะแบ่งเป็นเลเยอร์ ซึ่งเป็นแบบ 2 มิติเท่านั้น แต่โพรโทคอลของ ATM จะเป็นแบบ 3 มิติ แต่ละมิติจะเรียกว่า "เพลน(Plane)" โดยแต่ละเพลนจะเป็นชุดโพรโทคอลที่แยกกัน ประกอบด้วย 3 เพลน ดังนี้
- Control Plane
- User Plane
- Management Plane
ATM นั้นจะทำงานในเลเยอร์ที่ 1 และ 2 ของ OSI MODEL ส่วนโพรโทคอลที่อยู่เหนือขึ้นไปจะเป็นโพรโทคอลมาตรฐานทั่ว ๆ ไป สำหรับโพรโทคอล ATM จะแบ่งเป็นเลเยอร์บน และเลเยอร์ล่าง ซึ่งเลเยอร์บนจะมีในส่วนของ User Plane และ Control Plane , User Plane จะรับผิดชอบในการให้บริการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับ ส่วน Control Plane จะรับผิดชอบเกี่ยวกับสัญญาณ (Signal)  

Local Area Network Emulation (LANE)
เนื่องจากกลไกการรับส่งข้อมูลของ ATM แตกต่างจากเครือข่าย LAN ประเภทอื่น เช่น Ethernet และ Token Ring ซึ่งเป็นเครือข่ายประเภทหนึ่งที่นิยมมากในปัจจุบัน ดังนั้นแอปพลิเคชันประเภทนี้จะใช้กับเครือข่าย ATM ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนา ATM ให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันประเภทนี้ได้ โดยการเพิ่มอีกเลเยอร์หนึ่งขึ้นมาเรียกว่า LANE (Local Area Network Emulation) นั่นเอง ข้อแตกต่างระหว่าง ATM และ Ethernet หรือ Token Ring คือ
- เครือข่าย ATM จะมีการเชื่อมต่อแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ดในขณะที่อีเธอร์เน็ตจะมีการเชื่อมต่อแบบคอมเน็กชันเลสส์
- อีเธอร์เน็ตและโทเคนริงสามารถส่งข้อมูลแบบบรอดคาสต์ และแบบมัลติคาสท์ได้ เนื่องจากมีการแชร์สื่อกลาง
- หมายเลข MAC ตามมาตรฐาน IEEE จะกำหนดโดยผู้ผลิตเน็ตเวิร์คการ์ด ส่วนในเครือข่าย ATM หมายเลขนี้จะกำหนดให้โดยอัตโนมัติ
นี่เป็นปัญหาหลัก 3 ข้อที่ LANE ต้องทำหน้าที่เพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย ATM เหมือนว่าเป็นเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตหรือโทเคนริง
อินเตอร์เฟสที่มีฟังก์ชันของ LANE จะเรียกว่า "LUNI (LANE User-to-Network Interface)" ส่วนเครือข่ายที่ใช้ LANE จะเรียกว่า "ELAN (Emulated Local Area Network)" ส่วนไคลเอนท์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะเรียกว่า "LEC(LAN Emulation Client)" ที่อยู่ที่กำหนดให้แต่ละ LEC ก็จะเป็นหมายเลข MAC ที่กำหนดโดยผู้ผลิตเน็ตเวิร์คการ์ด
ในแต่ละ ELAN จะต้องมีการบริการที่เรียกว่า LES(LAN Emulation Service) ซึ่งจะอยู่ในตัวสวิตซ์เองหรือไคลเอนท์ก็ได้ และต้องมีเซิร์ฟเวอร์ LECS(LAN Emulation Configuration Server) ที่ทำหน้าที่กำหนดค่าต่าง ๆ และเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่บรอดคาสต์และจัดการเกี่ยวกับไคลเอนท์ที่ไม่ทราบ หรือ BUS(Broadcast and Unknown Server) นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อเสมือนระหว่างสถานีส่งและสถานีรับซึ่งจะเรียกว่า "VCC (Virtual Channel Connection)
จุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย ATM ในตอนแรกนั้นเพื่อให้เป็นทั้งเทคโนโลยี LAN และ WAN ที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยแบนด์วิธสูง การเดินทางของข้อมูลผ่านเครือข่ายที่เร็ว (Low Latency) แต่การยอมรับในตลาดยังน้อยมากเมื่อเทียบกับเครือข่ายอีเธอร์เน็ต เหตุผลหนึ่งที่ผู้ใช้ไม่อยากเปลี่ยนมาใช้ ATM ก็เนื่องจากในช่วงนั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีเครือข่ายเก่าที่เป็นแบบอีเธอร์เน็ตอยู่แล้ว การที่จะเปลี่ยนเทคโนโลยีก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ดังนั้นส่วนใหญ่จึงตัดสินใจใช้เทคโนโลยีที่ใช้อยู่แล้ว

ข้อดี ของ ATM
 1. ATM ถูกพัฒนาให้เป็นมาตรฐานกลางของการสื่อสารทั่วโลก อุปกรณ์ต่าง ๆ จึงสามารถทำงานร่วมกันได้ ถึงแม้จะต่างชนิดกัน โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใด กล่าวคือเป็นมาตรฐานกลางที่ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน
 2. ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูล สำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) และ ระยะไกล (Wide Area Network : WAN ) แต่เดิมนั้นรูปแบบของการส่งข้อมูลใน LAN และ WAN จะแตกต่างกัน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมต่อและบริหารเครือข่าย แต่ ATM จะผนวกทั้ง LAN และ WAN เข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีมาตรฐานเดียว
 3. ATM ถูกพัฒนาให้ใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบ แต่เดิมนั้นข้อมูลแต่ละรูปแบบได้เแก่ สัญญาณเสียง (voice) ข้อมูล (data) และภาพเคลื่อนไหว (video) ต่างก็มีเครือข่ายของตนเอง ด้วยระบบการสื่อสารแบบ ATM นี้ทำให้เราไม่จำเป็นต้องแยกเครือข่ายสำหรับข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากมันถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบทั้งเสียง (voice), ข้อมูล (data) และ วิดีโอ (video) นั่นเอง
4. ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที = 1 ล้านบิตต่อวินาที) ไปจนถึง Gbps (กิกะบิตต่อวินาที = 1 พันล้านบิตต่อวินาที)
5. ATM สามารถส่งข้อมูลโดยมีการรับประกันคุณภาพการส่ง (Quality of Service) ทำให้สามารถเลือกคุณภาพตามระดับที่เหมาะสมกับความสำคัญและรูปแบบของข้อมูล


วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐาน IEEE

IEEE คืออะไร
            IEEE คือ สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ ชื่อเต็มคือ Institute of Electrical and Electronic Engineers ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1963 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการรวมตัวของวิศวกรไฟฟ้าและวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดำเนินกิจกรรมร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้ากำลัง และระบบแสง
สถาบัน IEEE เป็นสถาบันที่กำกับ ดูแลมาตรฐานวิจัยและพัฒนาความรู้และงานวิจัยใหม่ๆตลอดจนเผยแพร่ความรู้ โดยเน้นด้านไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ระบบวัดคุม โดยนักวิจัยเหล่านี้มีอยู่ทั่วโลก และจะแบ่งกลุ่มศึกษาตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล กลุ่มหมายเลขIEEE ที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรควบคุมมาตรฐาน

มาตรฐาน IEEE แบ่งออกได้ดังนี้

IEEE 802.1 การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
IEEE 802.2 ถูกออกแบบใน LLC ไม่ต้องการให้เครื่องรู้จักกับ MAC sub layer กับ physical layer
IEEE 802.3 สำหรับเป็น โปรโตคอลมาตรฐานเครือข่าย Ethernet ที่มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูล10Mbps
IEEE 802.4 มาตรฐาน IEEE 802.4 เป็นมาตรฐานกำหนดโปรโตคอลสำหรับเลเยอร์ชั้น MAC
IEEE 802.5 เครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบ Ring
IEEE 802.6 กำหนดมาตรฐานของ MAN ซึ่งข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกออกแบบมาให้ใช้งานในระดับ    เขต และเมือง
IEEE 802.7 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ Broadband
IEEE 802.8 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วนำแสง
IEEE 802.9 ใช้กำหนดการรวมเสียงและข้อมูลบนระบบเครือข่ายรองรับ
IEEE 802.10 ใช้กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
IEEE 802.11 ใช้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีสำหรับ WLAN
IEEE802.12 ใช้กำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการเข้าไปใช้งานระบบเครือข่าย
IEEE 802.14 ใช้กำหนดมาตรฐานของสาย Modem
IEEE 802.15 ใช้กำหนดพื้นที่ของเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล
IEEE 802.16 ใช้กำหนดมาตรฐานของ Broadband แบบไร้สาย หรือ WiMAX


IEEE 802.11
          IEEE (Institute of Electrical and Electronic Engineer) ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐาน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้กำหนดมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย โดยใช้การกำหนดตัวเลข 802.11แล้วตามด้วยตัวอักษร เช่น 802.11b, 802.11a, 802.11g และ 802.11n
          IEEE 802.11 คือมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สายกำหนดขึ้นโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็นมาตรฐานกลาง ที่ได้นำมาปฏิบัติใช้ในมาตรฐานของการรับ – ส่งข้อมูล โดยอาศัยคลื่นความถี่ ตัวอย่างของการใช้งาน เช่น Wireless Lanหรือ Wi-Fi เพื่อที่จะทำการเชื่อมโยงอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเข้าด้วยกันบนระบบ
          ในทางปกติแล้ว การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สองชิ้น นั่นคือ แอคเซสพอยต์ คือ ตัวกลางที่ช่วยในการติดต่อระหว่าง ตัวรับ-ส่งสัญญาญไวเลส ของผู้ใช้ กับ สายนำสัญญาณที่จากทองแดงที่ได้รับการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายแล้ว เช่น สายแลน  ตัวรับ-ส่งสัญญาณไวเลส ทำหน้าที่รับ-ส่ง สัญญาณ ระหว่างตัวรับส่งแต่ละตัวด้วยกัน หลังจากที่เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายนี้ได้เกิดขึ้น ก็ได้เกิดมาตรฐานตามมาอีกมายมาย โดยที่การจะเลือกซื้อหรือเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเหล่านั้น เราจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ รวมถึงความเข้ากันได้ของเทคโนโลยีที่ต่างๆ ด้วย

IEEE 802.11a    
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ไร้สายมีความสามารถในการ รับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโดย ทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม

ข้อเสียของ IEEE 802.11a
          ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือ การที่มาตรฐานนี้ ใช้การเชื่อมต่อที่ความถี่สูงๆ ทำให้มาตรฐานนี้ มีระยะการรับส่งที่ค่อนข้างใกล้ คือ ประมาณ 35 เมตร ในโครงสร้างปิด(เช่น ในตึก ในอาคาร) และ 120 เมตรในที่โล่ง เนื่องด้วยอุปกรณ์ไร้สายที่รองรับเทคโนโลยี IEEE 802.11a มีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อยและยังไม่สามารถเข้ากันได้กับอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g อีกด้วย

IEEE 802.11b
          เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ.2542 มาตรฐาน IEEE 802.11b ได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายมาก ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะ ทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีหลายชนิด

ข้อดีของ IEEE 802.11b
          ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ การใช้คลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11a ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานนี้จะมีความสามารถในการส่งคลื่นสัญญาณไปได้ไกลกว่าคือประมาณ 38 เมตรในโครงสร้างปิดและ 140 เมตรในที่โล่งแจ้ง รวมถึง สัญญาณสามารถทะลุทะลวงโครงสร้างตึกได้มากกว่าอุปกรณ์ที่รองรับกับมาตรฐาน IEEE 802.11a ด้วยผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi

IEEE 802.11e
       เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งาน แอพพลิเคชันทางด้านมัลติมีเดียอย่าง VoIP (Voice over IP) เพื่อควบคุมและรับประกันคุณภาพของการ ใช้งานตามหลักการ QoS (Quality of Service) โดยการปรับปรุง MAC Layer ให้มีคุณสมบัติในการรับรองการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ

IEEE 802.11f
       มาตรฐานนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม IAPP (Inter Access Point Protocol) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขต การให้บริการของ Access Point ตัวหนึ่งไปยัง Access Point อีกตัวหนึ่งเพื่อให้บริการในแบบ โรมมิงสัญญาณระหว่างกัน

มาตรฐาน IEEE 802.11g
       มาตรฐาน IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b โดยยังคงใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz แต่มีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54 Mbps หรือเท่ากับมาตรฐาน 802.11a โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นวิทยุและมีรัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)  เพียงแต่ว่าความถี่ 2.4 GHz ยังคงเป็นคลื่นความถี่สาธารณะอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นจึงยังมีปัญหาเรื่องของสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันอยู่ดี

IEEE 802.11h
        มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ให้ทำงานถูกต้องตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของประเทศ ในทวีปยุโรป

IEEE 802.11i
       เป็นมาตรฐานในด้านการรักษาความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สาย โดยการปรับปรุงMAC Layer เนื่องจากระบบเครือข่ายไร้สายมีช่องโหว่มากมายในการใช้งาน โดยเฉพาะฟังก์ชันการเข้ารหัสแบบ WEP 64/128-bit ซึ่ง ใช้คีย์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับสภาพการใช้งานที่ต้องการ ความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของการสื่อสารระดับสูง มาตรฐาน IEEE 802.11i จึงกำหนดเทคนิคการเข้ารหัสที่ใช้คีย์ชั่วคราวด้วย WPA, WPA2 และการเข้ารหัสในแบบAES (Advanced Encryption Standard) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูง

IEEE 802.11k
        เป็น มาตรฐานที่ใช้จัดการการทำงานของระบบ เครือข่ายไร้สาย ทั้งจัดการการใช้งานคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพ มีฟังก์ชันการเลือกช่องสัญญาณ การโรมมิงและการควบคุมกำลังส่ง นอกจากนั้นก็ยังมีการร้องขอและปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับการทำงาน การหารัศมีการใช้งานสำหรับเครื่องไคลเอนต์ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ระบบ จัดการสามารถทำงานจากศูนย์กลางได้

IEEE 802.1x
       เป็นมาตรฐานที่ใช้งานกับระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งก่อนเข้าใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายจะต้องตรวจสอบสิทธิ์ในการใช้งานก่อน โดย IEEE 802.1x จะใช้โพรโตคอลอย่าง LEAP, PEAP,
 EAP-TLS, EAP-FAST ซึ่งรองรับการตรวจสอบผ่านเซิร์ฟเวอร์ เช่น RADIUS, Kerberos เป็นต้น

มาตรฐาน IEEE 802.11N
       มาตรฐาน IEEE 802.11N (มาตรฐานล่าสุด) เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่า จะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ซึ่งมาตรฐาน 802.11N

มาตรฐาน IEEE 802.11N
        โดยจะมีความเร็วอยู่ที่ 300 Mbps หรือเร็วกว่าแลนแบบมีสายที่มาตรฐาน 100 BASE-TXนอกจากนี้ยังมีระยะพื้นที่ให้บริการกว้างขึ้น โดยเทคโนโลยีที่ 802.11N นำมาใช้ก็คือเทคโนโลยี 
MIMO ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลจากเสาสัญญาณหลายๆ ต้น พร้อมๆ กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงมากขึ้นและยังใช้คลื่นความถี่แบบ Dual Band คือ ทำงานบนย่านความถี่ทั้ง 2.4 GHz และ 5 GHz


ที่มา :http://blogger-wichipon.blogspot.com 

OSI Model

 สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI
         OSI Model เป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงถึงวิธีการในการส่งข้อมูลจาก Computer เครื่องหนึ่งผ่านNetwork ไปยัง Computer อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานกลางแล้ว การพัฒนาและใช้งานที่เกี่ยวกับ Network ทั้ง Hardware และ Software  ของผู้ผลิตที่เป็นคนละยี่ห้อ อาจเกิดปัญหาเนื่องจากการไม่ compatible กัน OSI เป็น model ในระดับแนวคิด ประกอบด้วย Layer ต่างๆ 7 ชั้น แต่ละ Layer จะอธิบายถึงหน้าที่การทำงานกับข้อมูล
         OSI Model พัฒนาโดย International Organization for Standardization (ISO) ในปี 1984 และเป็นสถาปัตยกรรมโมเดลหลักที่ใช้อ้างอิง
ในการสื่อสาระหว่าง Computer โดยข้อดีของ OSI Model คือแต่ละ Layer จะมีการทำงานที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นจึงสามารถออกแบบอุปกรณ์ของแต่ละ Layer แยกจากกันได้ และการปรับปรุงใน Layer หนึ่งจะไม่มีผลกระทบกับ Layer อื่นๆ
         7 Layer ของ OSI Model สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ upper layers และ lower layers Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer  Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware OSI Model ประกอบด้วย 7 Layer คือ

          1. Layer Physical เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มาตรฐานสำหรับ เลเยอร์ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
          2.Layer  Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องผู้รับจะรับข้อ มูลได้
          3. Layer Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ในชั้นนี้
          4. Layer Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และ จากเลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการ สื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง เลเยอร์ชั้น Transpot จะ ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง หรือไม่ ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของข้อมูล(address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับ ข้อมูลนั้น
          5. Layer Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่ง ของจุดหมายปลายทางที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ ชั้นเดียวกัน
          6. Layer Presentation ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ
          7. Layer Application เป็นเลเยอรชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอรชั้นนี้ สามารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะ มีเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น



ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ใช้ในเลเยอร์ชั้นต่างๆ ในรูปแบบ OSI แสดงไว้ในตารางด้านล่าง
เลเยอร์
มาตรฐาน
รายละเอียด
7
ISO 8571
ISO 8572
การบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล
การบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ISO 8831
ISO 8832
การบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล
โปรโตคอลการบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ISO 9040
ISO 9041
การบริหารเทอร์มินัลแบบเสมือน
โปรโตคอลการบริหารเทอร์มินัลแบบเสมือน
CCITT X.400
ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ และกักเก็บข่าวสาร
6
ISO 8822
ISO 8823
การบริหารแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Presentation
โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์Presentation
5
ISO 8326
ISO 8327
การบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Session
โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Session
4
ISO 8072
ISO 8073
การบริหารแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Transport
โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-orientedในเลเยอร์ Transport
3
CCITT X.25
โปรโตคอล X.25 ในเลเยอร์ Network
2
ISO 8802
(IEEE 802)
CCITT X.25
โปรโตคอลสำหรับเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

โปรโตคอล SDLC,HDLC ในเลเยอร์ Data Link
1
CCITT X.21
ดิจิตอลอินเตอร์เฟซของเลเยอร์ Physical